ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา

1 ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา

          ภาชนะหรือสิ่งที่จะใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม   จะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงปลาจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ   เพราะจะต้องเน้นให้สามารถชมปลาที่เลี้ยงได้ง่าย   แลดูสวยงาม   กลมกลืนเข้ากับสภาพพื้นที่   และยังต้องมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาสวยงามที่จะเลี้ยงด้วย   ประเภทของภาชนะที่นิยมกันในปัจจุบันมีดังนี้

1.1 ขวดหรือโหลรูปทรงต่างๆ   ภาชนะเลี้ยงปลาสวยงามประเภทนี้ได้แก่  โหลแก้ว   และขวดต่างๆ   ซึ่งในสมัยก่อนมักเป็นขวดเหลี่ยมที่นิยมใช้เลี้ยงปลากัด   เพราะมีความจำเป็นต้องเลี้ยงขวดละตัว   มิฉะนั้นปลาจะกัดกัน   แต่ในปัจจุบันจะมีขวดทรงกลมรูปทรงต่างๆสวยงาม   มีขนาดความจุประมาณ 3 – 6 ลิตร   นิยมใช้เลี้ยงปลาสวยงามตั้งโชว์ตามโต๊ะทำงาน   หลังตู้เย็น   ตู้โชว์   ห้องรับแขก   และตามร้านในห้างสรรพสินค้า   ภาชนะเลี้ยงปลาสวยงามพวกนี้จัดว่ามีความจุน้อยเกินไป   ส่วนปากค่อนข้างแคบลง   และมักไม่มีการต่อสายเพิ่มอากาศให้แก่ปลา  เนื่องจากจะดูเกะกะทำให้ไม่สวยงาม   การเลี้ยงปลาสวยงามในภาชนะชนิดนี้จึงเท่ากับเป็นการทรมานปลา   เพราะการละลายของออกซิเจนในน้ำจะมีน้อยมาก   การนำปลาที่ต้องการออกซิเจนสูงมาเลี้ยง   เช่น  ปลาทอง   ปลาเทวดา   จะพบว่าภายใน 1 – 2 วัน ปลาจะลดการกินอาหารและจะลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำตลอดเวลา   เนื่องจากปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ   ปลาที่พอจะเลี้ยงได้ ได้แก่   ปลาหางนกยูง   และปลากัด   ซึ่งเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ   แต่ก็ควรจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน  เพื่อขจัดเศษอาหารไม่ให้บูดเน่าได้

                                                       

1.2 ตู้กระจกหรือตู้เลี้ยงปลา   เป็นภาชนะเลี้ยงปลาที่มักจะประกอบด้วยกระจกทั้ง 4 ด้าน   ในสมัยก่อนมักจะมีโครงเหล็กประกอบอยู่ภายนอก   เพื่อเป็นตัวรับแรงดันของน้ำ   เพราะวัสดุที่ใช้ในการยาขอบตู้ยังมีแรงยึดเหนี่ยวกระจกไม่ดีพอ   แต่ในปัจจุบันมีกาวซิลิโคนสำหรับยาขอบตู้ปลา   ซึ่งเป็นวัสดุที่มีแรงยึดเหนี่ยวกระจกได้ดี   และมีความเหนียวพอที่จะรับแรงดันของน้ำได้มาก   ทำให้ลดการใช้ขอบเหล็กไปเพราะดูไม่สวยงาม   แต่ก็ยังมีการใช้ขอบอะลูมิเนียมกันบ้างเพื่อเพิ่มความแข็งแรง   สะดวกในการเคลื่อนย้ายและเป็นขาตั้งตู้ให้สูงขึ้น   ปัจจุบันตู้ปลาที่ประกอบขึ้นมีหลายขนาดและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป   อีกทั้งยังสามารถสั่งให้ประกอบตู้ปลาตามขนาดที่ต้องการได้   หรือหากต้องการดำเนินการประกอบตู้ปลาเองก็สามารถกระทำได้เช่นกัน  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกหรือประกอบตู้ปลาคือ 

                                      

             1.2.1 ขนาดของตู้ปลา   ตู้ปลาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลายขนาด   ผู้เลี้ยงควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่   ชนิดและขนาดปลา   รวมทั้งจำนวนปลาสวยงามที่ต้องการเลี้ยง   ควรเลือกตู้ปลาให้มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   เพราะปลาจะมีพื้นที่ในการว่ายน้ำได้มากเหมือนอยู่ในธรรมชาติ  คุณภาพน้ำจะค่อนข้างดี   ทำให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์   แข็งแรง   และเจริญเติบโตเร็ว   การบอกขนาดของตู้ปลาในการซื้อขายมักจะนิยมบอกเป็น “นิ้ว”   โดยมักจะบ่งเฉพาะความยาว   เช่น  ตู้ขนาด  18  นิ้ว   หมายถึงตู้ปลาที่มีด้านยาวเท่ากับ  18  นิ้ว   แต่ถ้าต้องการคำนวณหาความจุหรือปริมาณน้ำในตู้ปลา   จะต้องวัดความกว้าง   ความยาว   และความสูงของตู้ปลาเป็นเซนติเมตร   เช่นตู้ขนาด  18  นิ้ว   จะมีความกว้าง  23  เซนติเมตร  ความยาว  45  เซนติเมตร  และความสูง  32  เซนติเมตร   จะมีความจุ  33  ลิตร   โดยคำนวณได้ดังนี้  

          จากสูตร      การหาปริมาตร          =   กว้าง  X  ยาว  X  สูง

                          ความจุของตู้            =   23  X  45  X  32

                                                    =  33,120        ลูกบาศก์เซนติเมตร  หรือ  ซีซี

               จาก  ปริมาตร  1 ลิตร           = 1,000             ลูกบาศก์เซนติเมตร  หรือ  ซีซี

                             ความจุของตู้         =   33,120 / 1,000        =  33.1           ลิตร 

ตารางที่ 1  ขนาดและความจุของตู้ปลาที่มีจำหน่ายกันมากในท้องตลาด


ขั้นที่ 1 การวัดขนาดของพื้นที่หรือขนาดกระจกที่จะประกอบตัวตู้   ควรกำหนดเป็นนิ้ว   เนื่องจากความหนาของกระจกกำหนดเป็น “หุน” ( 1  นิ้ว  มีค่าเท่ากับ  8  หุน )  ต้องการใช้กระจกหนากี่หุน   จะทำให้สามารถหักลบการเหลื่อมเนื่องจากความหนาของกระจกได้ง่าย   เช่น  ตู้ขนาด  60  นิ้ว   ใช้กระจกหนา  2  หุน   จะใช้แผ่นกระจกดังนี้                    1.2.2 เทคนิคการประกอบตู้ปลา   ถึงแม้จะสามารถหาซื้อหรือสั่งประกอบตู้ปลาได้ง่าย   แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้จำนวนมาก  หรืออยากมีความสามารถในการประกอบตู้ปลาเอง   ก็สามารถดำเนินการได้ไม่ยากเช่นกัน   โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  • แผ่นพื้นตู้  ขนาดกว้าง  16  นิ้ว   ยาว  60  นิ้ว   จำนวน  1  แผ่น
  • แผ่นด้านยาว  ขนาดกว้าง  20  นิ้ว(ความสูงของตู้)  ยาว  60  นิ้ว  จำนวน  2  แผ่น
  • แผ่นด้านกว้าง  ขนาดกว้าง 20 นิ้ว(ความสูงของตู้) ยาว 15 นิ้ว 4 หุน จำนวน 2 แผ่น                       

          ขั้นที่ 2   ก่อนทำการประกอบตู้ควรใช้ผ้าหนาๆหรือผ้าห่มปูพื้น   เพื่อป้องกันกระจกแตก

          ขั้นที่ 3   ใช้กระดาษกาวติดที่แผ่นกระจกโดยติดให้ห่างจากขอบกระจกประมาณ  1.0 – 1.2 เซนติเมตร   เพื่อป้องกันไม่ให้กาวซิลิโคนเปรอะเปื้อน   และช่วยให้แต่งขอบกาวซิลิโคนให้มองดูตรงสวยงาม   แผ่นพื้นตู้จะติดทั้ง  4  ด้าน   แผ่นด้านยาวและด้านกว้างจะติดเพียง  3  ด้าน

           ขั้นที่ 4   วางแผ่นพื้นตู้เพื่อรองรับแผ่นด้านกว้างและด้านยาว

          ขั้นที่ 5   ใช้แผ่นด้านกว้างและด้านยาวอย่างละ 1 แผ่น ทากาวซิลิโคนที่สันของทั้ง 2 แผ่น   เฉพาะด้านที่จะวางลงบนแผ่นพื้นตู้   และทาที่สันของแผ่นด้านกว้างตรงด้านที่จะประกบกับแผ่นด้านยาว

           ขั้นที่ 6   วางแผ่นด้านกว้างและด้านยาวที่ทากาวซิลิโคนแล้ว   ลงบนแผ่นพื้นตู้   แล้วใช้เทปใสหรือกระดาษกาวติดยึดแผ่นทั้งสองที่มุมด้านบน   ก็จะช่วยยึดแผ่นกระจกทั้ง 2 ให้ตั้งคง รูปอยู่บนแผ่นพื้นตู้ได้

          ขั้นที่ 7   ใช้แผ่นด้านกว้างอีก 1 แผ่น   ทากาวซิลิโคนที่สันด้านที่จะวางลงบนแผ่นก้นตู้และด้านที่จะประกบกับแผ่นด้านยาวที่ประกอบไว้แล้ว   วางแผ่นด้านกว้างนี้ลงบนแผ่นพื้นตู้   และใช้เทปใสติดยึดกับด้านยาวเช่นเดิม

          ขั้นที่ 8  ใช้แผ่นด้านยาวแผ่นสุดท้าย   ทากาวซิลิโคนที่สันด้านที่จะวางลงบนแผ่นก้นตู้   และทากาวซิลิโคนที่สันของแผ่นด้านกว้างทั้ง 2 แผ่น   ตรงด้านที่แผ่นยาวจะประกบเข้าไป   แล้ววางแผ่นด้านยาวประกบเข้าไป   และใช้เทปใสช่วยยึดเช่นเดียวกัน   ก็จะได้รูปทรงของตู้ปลาที่ต้องการ

          ขั้นที่ 9  ทากาวซิลิโคนตรงรอยต่อระหว่างขอบกระจกแต่ละแผ่นทุกแห่งอีกครั้ง   เพื่อช่วยเพิ่มแรงยึดและประสานรอยต่อให้สนิท

          ขั้นที่ 10  ปล่อยทิ้งไว้  24 – 48  ชั่วโมงกาวซิลิโคนจะแห้ง   จึงลอกกระดาษกาวภายในและแต่งขอบกาวซิลิโคนให้ดูเรียบร้อยสวยงาม   แล้วลอกเทปใสที่ติดเพื่อช่วยยึดแผ่นกระจกออก

          ขั้นที่ 11 ตกแต่งขอบหรือคิ้วด้านบนและด้านล่างเพื่อความสวยงาม   โดยใช้แผ่น พลาสติกกว้าง 2 – 3 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดตู้   ใช้กาวซิลิโคนทายึดแผ่นพลาสติกติดกับกระจก   ตรงที่ต้องหักมุมใช้ไฟลนก็จะงอพับหักมุมได้ตามต้องการ   คิ้วด้านบนควรให้สูงกว่าขอบตู้เล็กน้อย  เพื่อใช้เป็นขอบสำหรับกันฝาปิดตู้ปลาได้ด้วย

          ขั้นที่ 12   ตู้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดตั้งแต่  24  นิ้วขึ้นไป   ควรติดโครงช่วยยึดตู้ด้านบนด้วย   โดยใช้แผ่นกระจกกว้างประมาณ  2  นิ้ว   ยึดติดขอบด้านบนทั้ง  4  ด้าน   และเสริมยึดด้านยาว  1 – 2  ช่วง   แล้วแต่ความยาวของตู้

ภาพที่ 4  การติดกระจกเป็นโครงช่วยยึดด้านบนของตู้

          1.3 บ่อซีเมนต์   เป็นบ่อเลี้ยงปลาที่มักสร้างอยู่ภายนอกอาคาร   ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเลี้ยงปลาคาร์พ   มักเป็นบ่อขนาดใหญ่และมักขุดลึกลงไป   ปากบ่อจะเสมอกับพื้นดิน   หรืออาจสร้างร่วมไปกับการตกแต่งสวนหย่อม   บ่อลักษณะนี้จะต้องมีระบบบ่อกรองน้ำที่ดี   โดยมักสร้างแยกหลบออกไปต่างหาก   เช่น บ่อเลี้ยงอยู่ที่สวนหย่อมหน้าบ้าน   แต่บ่อกรองจะแยกไปอยู่ข้างบ้านหรือหลังบ้าน   มีผู้เลี้ยงปลาหลายรายที่ต้องการเลี้ยงปลาคาร์พ   โดยสร้างบ่อซีเมนต์ในบริเวณสวนหย่อมโดยไม่มีระบบบ่อกรองน้ำ   เมื่อนำปลาคาร์พมาเลี้ยงจะประสบปัญหาเรื่องน้ำขุ่น   มีเศษอาหารและมูลของปลาชัดเจน   ดูไม่สวยงาม   ลักษณะนี้จะดำเนินการแก้ไขค่อนข้างยาก   หลายรายจำเป็นต้องเปลี่ยนไปเป็นบ่อเลี้ยงบัว(ปลูกบัว)  ดังนั้นการสร้างบ่อเลี้ยงปลาคาร์พหรือบ่อซีเมนต์จะต้องมีการศึกษาและวางแผนการสร้างให้ถูกต้อง   สำหรับระบบบ่อกรองน้ำจะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อ 4.3

                                              

ใส่ความเห็น