ชนิดของปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน

         ชนิดของปลาสวยงาม เราสามารถจำแนกออกได้อย่างกว้างขวาง แต่ ณ.ที่นี้ ขอยกตัวอย่างปลาสวยงามเพียง 6 ชนิดที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาเลี้ยงกันในปัจจุบัน

                                                                                                         
                1.ปลากัด
                2.ปลาการ์ตูน
                3.ปลาคาร์พ
                4.ปลาทอง
                5.ปลาหมอสี
                6.ปลามังกร

1. ปลากัด         

                ปลากัดจัดเป็นปลาขนาดเล็ก     ลำตัวมีความยาวประมาณ  5 – 7  เซนติเมตร   ลักษณะลำตัวเรียวยาว   แบนข้าง   ปากมีขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย   ส่วนหัวมีเกล็ดปกคลุม   ครีบก้นมีฐานครีบค่อนข้างยาว   มีจำนวนก้านครีบ  23 – 26 อัน   ครีบท้องเล็กยาว   สีของลำตัวเป็นสีเทาแกมดำ   สีของครีบและเกล็ดบริเวณใกล้ครีบจะเป็นสีสดเข้มสีใดสีหนึ่งทั้งตัว   เช่น  ปลากัดสีแดง   จะมีครีบทุกครีบและเกล็ดที่อยู่ใกล้ครีบเป็นสีแดงทั้งหมด

                       

                ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน   ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา   เรียก  บ่อนปลากัด  หรือ  บ่อนกัดปลา   มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน

                      

             

               การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก   ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น   เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน   ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม   แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ  เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้   ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม   จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก   ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม   จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด   ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ   สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี   โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง   เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน   แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ

      

2.  ปลาการ์ตูน

 

  ปลาการ์ตูน (Clownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก ปลาการ์ตูน ชอบอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษสำหรับป้องกันอันตราย แต่ไม่เป็นอันตรายกับ ปลาการ์ตูน ทำให้สามารถอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน 

          ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงกัน เพราะมีสีสันสวยงาม ปลาการ์ตูน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตามธรรมชาตินั้น ปลาการ์ตูน จะอยู่กันเป็นครอบครัว และกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาที่หวงถิ่นมากจะมีเขตที่อยู่ของตนเอง 

          สำหรับ ปลาการ์ตูน มีทั้งหมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบ ปลาการ์ตูน 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียน

          ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน ทั้ง 7 ชนิด ที่พบในประเทศไทย สามารถที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด การเพาะพันธุ์ ปลาการ์ตูน นั้น ต้องเริ่มจากการจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะผสมพันธุ์วางใข่ เพศของปลาการ์ตูนนั้นไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อีกทั้ง ปลาการ์ตูน สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของ ปลาการ์ตูน จะถูกกำหนดโดยโครงสร้างของสังคม และเมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียแล้ว จะไม่สามารถกลับมาเป็นเพศผู้ได้อีก ทำให้การจับคู่ ปลาการ์ตูน มีความสลับซับซ้อนมาก 

          สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ การเลี้ยง ปลาการ์ตูน เพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จึงควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ ปลาการ์ตูน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมากกว่าปลาธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า โดยควรนำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับขนาดตู้เลี้ยง เมื่อ ปลาการ์ตูน เริ่มจับคู่จะสังเกตว่าทั้งสองตัวจะแยกตัวออกจากฝูงและหวงอาณาเขต จากนั้นให้แยก ปลาการ์ตูน คู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 

การเลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์

          ตู้ที่ใช้เลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์ ควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ ประมาณ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับให้ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่ได้ เช่น แผ่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องทะเลเข้าไปในตู้ เพราะปลาสามารถวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเลอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ – แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารสดที่มีคุณภาพดี เช่นเนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกัน ให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง ระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดก้นตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20% ทุก 2 อาทิตย์ 

การดูแลและการฟักไข่ ปลาการ์ตูน

          พ่อ – แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5-9 วัน หรือในช่วงทีอากาศร้อนจะใช้เวลาประมาณ 6 วัน การนำไข่ออกมาฟัก สามารถกระทำได้แต่จะให้ผลไม่ดีเท่ากับปล่อยให้พ่อ – แม่ปลาฟักไช่เอง การสังเกตว่าลูกปลาจะฟักหรือยัง สังเกตได้จากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง ซึ่งแสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากมืดสนิท

การอนุบาลปลาลูก ปลาการ์ตูน

          หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสกับอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้ โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายชนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหารในระยะ 2-3 วันแรกอาจใช้วิธีเพิ่มน้ ในตู้ปลาอนุบาล

          หลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกวัน วันละ 20-50% ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนกับพ่อ – แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูกปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นกันตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะของการอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-20% และลูกปลาจะมีขนาดความยาวประมาณ 8-10 มม. 

การเลี้ยงปลาการ์ตูน

          เมื่อพ้นระยะอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่ขึ้น ความหนาแน่น ประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลายสับหรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะให้อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยค่อยๆ ลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในหรือภายนอกมีการทำความสะอาดและเปลี่ยน ถ่ายน้ำเป็นระยะ เข่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20% ทุก 2 สัปดาห์

          สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากในการเลี้ยง ปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและความหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยงหรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium Ocellatum ซึ่งเมื่อเกิดแล้วลูกปลาจะตายเกือบหมด 

          ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และความต้องการจับคู่ พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ – แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน 

การให้อาหาร ปลาการ์ตูน

           การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้กินอาหารเกินวันละครั้งและควรให้กินแต่พออิ่ม ไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วยที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารที่ให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลานสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้กับตู้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย

3.  ปลาคาร์พ

           

        
             ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ “ฮานาโกะ” ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

           ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว 

           ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา 

           สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi) 

 ประเภทของปลาคาร์พ

           ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้าทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่

           1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ

           2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง

           3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็น แฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y

           4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา

           5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป

           6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ

           7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย

           8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ

           9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)

           10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ

           11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก

           12. ตันโจ (Tancho)  เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้

           13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี

 การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

           ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย 

           และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

           ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

           เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

 อาหารและการเลี้ยงดู

           ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

           สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

           ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

 โรคและการรักษา

           1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

           2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

           3.หางและครีบเน่า  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

           วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

           4.เนื้อแหว่ง  เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

           5.เชื้อราบนผิวหนัง  เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

           วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

           6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

           วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

           7.ลำใส้อักเสบ  เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

           วิธีรักษา :  ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

           8.เห็บ  เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

           วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

           9.หนอนสมอ ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

           วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

           10.พยาธิเส้นด้าย  ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

           วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย

4.  ปลาทอง

                
               ปลาทองเป็นปลาน้ำจืด ที่ชื่อมีความหมายที่ดี และ ล้ำค่าแก่เจ้าของ และปลาทองยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาทอง ไว้ดูเล่น หรือ เลี้ยงปลาทองไว้เป็นเคล็ดฮวงจุ้ย ปลาทองมีสายพันธุ์ที่หลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาด ใน และ ต่างประเทศอย่างมาก และ การเพาะเลี้ยงปลาทองก็เป็นอีกอาชีพที่ สร้างรายได้ ได้เป็นอย่างดี
การเลี้ยงปลาทอง มีมานานกว่า 2000 ปี โดยเฉพาะในประเทศจีน และญี่ปุ่น ชึ่งตามประวัติแล้ว ถือได้ว่า ปลาทอง เป็นปลาชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยงเพื่อความสวยงามก็ว่าได้ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง อย่างมากมาย และหลากหลาย ซึ่งได้แก่ 
ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ (Lion head), พันธุ์ออแรนดา (Oranda), ปลาทอง เกล็ดแก้ว (Pearl scale),
ปลาทองตาโปน (Telescope eye), ปลาทองพันธุ์ริวกิ้น (Ryukin) ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eye) เป็นต้น 
ซึ่งนอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาทองอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถเลือกเลี้ยงได้ตามความชอบ และความพอใจ               หลายคนเรียก ปลาทอง ว่า ปลาเงินปลาทอง โดยมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Goldfish ซึ่งปลาทอง เป็น
ปลาที่อยู่ในตระกลู Cyprinidae โดยชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาทอง คือ Carassius auratus (Linn.)ปลาทอง มีต้นกำเนิดอยู่ ทางตอนใต้ ของประเทศจีน โดยในธรรมชาติ ปลาทองชอบอาศัยตามหนองน้ำ และ ลำคลองที่ใสสะอาด
ที่ติดกับแม่น้ำ ในสภาพแวดล้อมที่ดี ปลาทอง สามารถมีอายุขัย ยืนยาวอยู่ได้ถึง 20 ถึง 30 ปี เลยทีเดียว สำหรับปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7-8 ปี เท่านั้น พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปีประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น ก็เป็นประเทศที่นิยมเลี้ยงปลาทอง เป็นอันดับต้นๆของโลก และยังเป็นศูนย์กลาง
ในการส่งออก ปลาทอง ที่ใหญ่มากอีกด้วยปลาทอง ในประเทศไทยนั้น การเพาะ ปลาทอง ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็น ราชบุรี นนทบุรี นครปฐม และ กทม. 
การเพาะเลี้ยงปลาทอง ในประเทศไทย นั้นส่วนใหญ่จะเพาะพันธุ์ ปลาทอง เพื่อการจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น

5.  ปลาหมอสี

   

             ปลาหมอสี มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ มีนิสัยค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุกเข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไป
อาหาร ปลาหมอสี
                   ปลาหมอสีสามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารได้ทุกประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจะไปทำลายตับของปลาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย ฉะนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาหมอสี ควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ปลาหมอสีกินพืช ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยง กับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไปควรมีส่วน ประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวทอง ปริมาณอาหารไม่ควรให้เกินความต้องการของปลา จะทำให้ปลาอ้วนและอ่อนแอ ในกรณีเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์ ถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อ

ธรรมชาติของปลาหมอสี เป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 – 10 วัน ปลาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอาหารจำกัด โดยเฉพาะแม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก 15-20 วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใดๆ ทั้งสิ้น

การเพาะเลี้ยงปลาหมอสี

ปลาหมอสี เป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น จากนักเลี้ยงปลา ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกถึงแม้ว่าปลากลุ่ม นั้นส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง จัดอยู่ในวงศ์ชิลคลิดี

การแพร่กระจายของปลาวงศ์ นี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม ดังเช่น ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยทะเลสาบ แม่น้ำลำธาร หนองบึง จึงส่งผลให้ปลามีความหลากหลายทั้งชนิด สายพันธุ์ รูปร่าง และการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งปลาบริโภคและปลาสวยงาม ได้แก่ ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ฯลฯ ปลาเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ดี จัดเป็นปลาเลี้ยงง่าย

หลักทั่วไปใน การเลี้ยง ปลาหมอสี

1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็ว ควรพักน้ำประปา ไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้

2. ใช้เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้

3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้

4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี

5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้ น้ำก็ควรจะพักไว้ในถัง หรือ ตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้

6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำ เพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยน น้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่ง ชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขต อันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก

7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดี ในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตาย หมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

6.ปลามังกร

          ปลาอโรวาน่า (Arowana) AROWANA หรือ “Bonytongue fish” มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปลาตะพัด หรือ ปลามังกร มีลักษณะเด่นที่รูปร่างคล้ายมังกรและมีความเชื่อกันว่าเป็นปลานำโชค ปลาชนิดนี้จัดอยู่ในครอบครัวออสทีโอกลอสซิตี้ (Osteoglossidae) ประกอบด้วยปลา 4 สกุล (Genus) และ 7 ชนิด (Species) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้ลักษณะรูปร่าง          มีลักษณะลำตัวยาวแบนข้าง ส่วนท้องแบนมาก เป็นสันคม ความกว้างลำตัวบริเวณส่วนต้นและส่วนท้ายของลำตัว (บริเวณโคนครีบก้น)เกือบเท่ากัน มีความยาวลำตัวเป็น 3.5-4.8 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.5-4 เท่าของความยาวส่วนหัว ปลาที่มีอายุน้อยบริเวณสันหลังจากจงอยปากไปจนถึงบริเวณโคนหางเกือบเป็นเส้นตรง แต่แม่ปลาอายุมากขึ้นจะโค้งเล็กน้อย เกล็ดบริเวณลำตัวมีขนาดใหญ่ หนา และแข็งแรง          จำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว (lateral line) 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ครีบหลังสั้นกว่าครีบก้น ครีบก้นมีความยาวเท่าๆกับความยาวของส่วนหัว ครีบหลังมีจำนวนครีบ 20 ก้าน ครีบก้นมี 26-27 ก้าน ครีบอกค่อนข้างยาว ยาวจนถึงโคนครีบท้องวัดความยาวได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว และมีจำนวน 7 ก้าน           ครีบท้องสั้นมีเพียง 5 ก้าน ครีบหางกลมมนไม่ติดกับครีบหลังและครีบก้น ปลาชนิดนี้ปากกว้างมาก เฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยาวเลยไปทางด้านล่างของส่วนหัว บนขากรรไกรและเพดานปากมีฟันแหลมคม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ที่ปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่สั้นๆ 1 คู่ ตามีขนาดใหญ่มากกว่าความยาวของจงอยปากเล็กน้อย          ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ชอบอาศัยแหล่งน้ำบริเวณภูเขาที่มีน้ำไหลเอื่อยๆ ที่พื้นท้องน้ำเป็นหินปนทรายน้ำค่อนข้างขุ่นและเป็นกรดเล็กน้อย(pH 6-6.5) เป็นปลาที่มีไข่จำนวนน้อย ปลาขนาด 3-6 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 40-100 ฟองเท่านั้น เมื่อวางไข่แล้วจะฟักไข่ในปากขนาดไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.72 เซนติเมตร สามารถแบ่งตามทวีปที่พบได้ 4 ทวีป ดังนี้1. อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย          ปลาอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย จัดเป็นอะโรวาน่าที่นิยมสูงสุด ในหมู่นักเลี้ยงปลา ในกลุ่มนี้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Scleropages Formosus รูปร่างของปลา จะค่อนข้างออกไปทาง ป้อมสั้น หากเทียบกับสายพันธุ์ ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยัง จัดเป็นกลุ่มที่มีราคาแพงที่สุด อันเนื่องมาจาก สีสรร อันสวย เกินบรรยาย สีทองดั่งทองคำเปลว หรือ สีแดงแบบเลือดนก           1. อะโรวาน่าทองมาเลย์ ( CROSS BACK )            อะโรวาน่าทองจากมาเลเซีย มีชื่อเรียกหลายแบบ ตามแหล่งที่พบ เช่น ปาหังโกลด์ มาลายัน โบนีทัง (Malayan Bony Tongue), บูกิทมีราสบลู, ไทปิงโกลด์เดน หรืออะโรวาน่าทองมาเลย์ สาเหตุของการมีชื่อเรียกมากมาย อย่างนี้ ก็เพราะว่าอะโรวาน่าชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไป ในมาเลเซีย ปลาอะโราวาน่าทองมาเลเซีย จัดเป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาประอะโรวาน่าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากปลาชนิดนี้ จะให้ลูกน้อย และในธรรมชาติ หาได้ยากเต็มทีแล้ว ทุกวันนี้มีเพาะเลี้ยงกันที่ ในมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น อะโรวาน่าทองมาเลเซีย สามารถแบ่งจริงๆ ได้เป็น 3 พวก ใหญ่ๆ คือ          – สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีน้ำเงิน หรือม่วง ( Blue or Purple Based )          – สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีทอง (Gold Based)          – สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีเขียว (Green Based)          สำหรับ ปลาประเภท 1 และ 2 บางครั้งจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจาก สีน้ำเงิน หรือ ม่วงที่เราเห็น ขึ้นอยู่กับมุมสะท้อน ที่เราดูปลา เลยทำให้บางครั้งเราเห็น ออกสีม่วง ทั้งที่ความจริงแล้ว ปลามีฐานเกล็ดสีน้ำเงิน สำหรับแบบที่ 3 หรือ แบบที่มีฐานเกล็ดสีทอง แบบนี้ จัดว่าเป็นสุดยอดของปลาอะโรวาน่า ทองมาเลเซีย เนื่องจาก เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาจะมีสรรที่เหลืองอร่าม ดั่งทองคำเคลื่อนที่ ปลาชนิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นอะโรวาน่าทองมาเลย์ประเภท แรก ที่สีทองจะอ้อมข้ามหลังได้เร็ว กว่าสายพันธุ์อื่นๆ          การผสมข้ามสายพันธุ์ ก็ได้ทำให้เกิด สายพันธุ์ใหม่ๆ ของอะโรวาน่าทองมาเลเซีย ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Platinum White Golden และ Royal Golden Blue Arowana เป็นต้น

           2. อะโรวาน่าแดง ( Red Arowana )

            ปลาอะโราวาน่าแดง ที่มีขายกันในบ้านเรา มีที่มาจากหลายแหล่งน้ำ ในทางตะวันตกของกัลลิมันตัน ในประเทศ อินโดนีเซีย บริเวณแนวสันหลังจะมีสีน้ำตาล เกล็ดบริเวณลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัว มีสีเขียวเหลือบสีแดง หรือแดงอมส้ม บริเวณส่วนท้องและแผ่นปิดเหงือกสีแดงหรือแดงอมส้มครีบอกและครีบท้องสีเขียว แต่บริเวณส่วนปลายครีบจะมีสีแดงหรือแดงอมส้ม ริมฝีปากก็จะมีสีแดงหรือแดงอมส้มเช่นกัน อะโรวาน่า แดง สามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ

          – แดงเลือดนก (Blood Red)

          – แดงพริก (Chilli Red )

          – แดงส้ม (Orange Red)

          – แดงอมทอง (Golden Red)

          ในปัจจุบัน อะโรวาน่าแดง ทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ถูกเรียก รวมๆ ทั้งหมด ว่า Super Red เนื่องจาก ปลาอะโรวาน่าแดง ประเภท Orange Red และ Golden Red เวลาโต จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าสีจะไม่แดงเข้ม เท่า 2 สายพันธุ์แรก จากรูปข้างบน จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า คุณภาพสีแดงของ Orange Red และ Golden Red จะออกไปทางส้มอม แดง หรือ ทองอม แดง

          ชิลี่เรด และ บัดเรด ทั้งสองตัวนี้ มีแหล่งกำเนิดจาก แม่น้ำ Kapaus และทะเลสาบ Sentarum ซึ่งทะเลสาบ Sentarum นี้จะประกอบไป ด้วยทะเลสาบย่อยๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด ทางตอนปลายจะมีทางออกสู่ แม่น้ำ Kapaus ธรรมชาติของแม่น้ำนี้ จะถูกปกคลุม ด้วยต้น Peat ซึ่งทำให้แลดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้มาก สภาพ น้ำในแม่น้ำ Kapuas จะมีสีดำ ของแร่ธาตุ และอาหาร ซึ่งมีผลต่อสีของปลา ทำให้ อะโรวาน่าแดง มีสายพันธุ์ย่อยๆ ลงไปอีก โดยสามารถแบ่งแยกได้ จากความเข้มของสี ที่แตกต่างกัน และ รูปทรงของปลา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวนี้ พ่อค้าปลา ได้ตั้งชื่อเรียกปลาอะโรวาน่า ชุดแรกๆ ที่มีการส่งออก ว่า Chilli Red และ Blood Red โดยที่จะใช้ ความเข้มของสีแดงและ รูปทรงของปลา ในการจำแนก ปลาทั้งสองชนิดออกจากกัน ในปลาที่โตเต็มที่ ชิลี่เรด จะสีแดงคล้ายพริกในขณะที่ บัดเรด จะแดงออกสีเลือด ชีลี่เรด จะมีตาที่ใหญ่สีแดง และหางที่มีรูปร่างคล้ายรูปร่างของเพชร ในขณะที่ บัดเรด จะมีตาที่เล็กกว่า ขาวกว่าและรูปแบบหาง จะกลม เปิดกว้างมากกว่า ตาที่ใหญ่ของชีลี่เรด บางครั้งขอบ ตาบนจะแตะระดับส่วนบนของหัวพอดี

           3. อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย ( Red Tail Golden Arowana )

          จำแนกอยู่ภายใต้กลุ่มอะโรวาน่าทอง เช่น เดียวกับทองมาเลย์ ปลาชนิดนี้ พบใน Pekan Baru ในประเทศอินโดนีเซีย เวลามันโต เต็มที่ มันจะไม่ทองแบบเหลืองอร่ามทั้งตัว ทองอินโด สามารถแบ่งประเภท ตาม สีของเกล็ดได้ 4 ประเภท คือ พวกที่มีฐานเกล็ด สีน้ำเงิน, เขียว และ ทอง อะโรวาน่าทองที่มีขนาดเล็ก จะมีสีที่ด้านกว่าของมาเลย์อย่างเห็นได้ชัด

           4. อะโรวาน่าเขียว Green Arowana

          แหล่งกำเนิดของปลาตัวนี้ พบกระจายอยู่ใน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ใน แถบจังหวัด จันทบุรี ตราด บริเวณด้านหลังจะมีสีเขียวอมน้ำตาล สีเทา หรือเทาอมเขียว เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเงินหรือเงินเหลือบเขียว ครีบทุกครีบสีน้ำตาลอมเขียว

2. อะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้

          สำหรับ อะโรวาน่าที่มาจากทวีปอเมริกา มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ อะโรวาน่าเงิน อะโรวาน่าดำ และ อะราไพม่า ชาวพื้นเมือง จะเรียกปลาอะโรวาน่า ว่า “ลิงน้ำ (Water Monkey)” เนื่องจากลักษณะการ กระโดด ขึ้นกินแมลง ที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ เหนือ ผิวน้ำ

           อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)

            มีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอนในจิอานา(Guiana) อเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่ยาวถึง 1 เมตร ลำตัวยาวและแบนข้างมาก เรียงไปทางส่วนโคนหาง ส่วนท้องแบนเป็นสัน ลำตัวมีสีเงินอมเทา หรือเหลืองอมเขียว บางตัวเมื่อโตขึ้นจะมีสีขาวเหมือนหิมะ จึงเรียกว่า snow arowana บริเวณลำคอจะมีสีส้มหรือส้มอมแดง เกล็ดตามตัวมีขนาดใหญ่ เกล็ดตามเส้นข้างตัวมี 31-35 เกล็ด บนเกล็ดมีจุดสีแดงและสะท้อนแวววาวเมื่อมีแสงสว่าง ครีบมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน ปากกว้างมากเมื่อยื่นขึ้นไปด้านบน ริมฝีปากล่างยื่นออกไปกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ปลายริมฝีปากล่างมีหนวดขนาดใหญ่ 2 เส้น หนวดมีสีน้ำเงินหรือฟ้าน้ำทะเล ครีบก้นยาวมากเริ่มจากลำตัวยาวไปจนถึงโคนหางมีก้านครีบ 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงกันข้ามกับครีบก้นแต่สั้นกว่าครีบก้นเล็กน้อย จำนวนก้านครีบ 42-46 ก้าน

           อะโรวาน่าดำ (Black Arowana)

            พบแพร่กระจายบริเวณแม่น้ำริโอนิโกร (Rio Negro) ในบราซิล ลักษณะลำตัวโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน กับอะโรวาน่าเงินมากในขณะที่ปลาอายุยังน้อยยังมีเส้นขนาดเล็กคาดอยู่ อะโรวาน่าดำจะมีสีคล้ำกว่าอะโรวาน่าเงินมาก และจะมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวลำตัว แต่เมื่อปลามีอายุมากขึ้น สีบริเวณลำตัวจะซีดจางลงจนมีสีใกล้เคียงกับอะโรวาน่าเงิน จุดที่พอจะสังเกตุความแตกต่างได้เมื่อปลาอายุมากขึ้นคือ ครีบหลังและครีบก้น อะโรวาน่าดำจะมีขอบครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำในขณะที่อะโรวาน่าเงินไม่มี

           อะราไพม่า หรือ ปลาช่อนยักษ์ ( Aarapaima )

            ในธรรมชาติปลาอะราไพม่าจะกิน ปลาตระกูลแคชฟิช บางชนิดเป็นอาหาร ในบางครั้งก็อาจจะกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อจับนก ที่บินไปบินมา ปลาพิรารูคู หรือ อะราไพม่า ที่เรารู้จักดี เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก สามารถเติบโต ได้ถึง 10 ฟุต น้ำหนักถึง 400 ปอนด์ จากหลักฐานเท่าที่มีการยืนยัน เมื่อ ร้อยปีที่แล้วมีคนเคยจับได้ขนาดใหญ่สุดถึง 15 ฟุต 4.6 เมตร ปลาช่อนยักษ์จะวางไข่ราวๆ ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ไข่เป็นพันๆ ฟองจะถูกวางในแอ่งดินใต้น้ำ ที่พ่อแม่ปลา ช่วยกันเตรียมรังเอาไว้ต้อนรับลูกน้อย

          ปลาชนิดนี้ มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tongue ซึ่งมีฟันชุดที่สองเรียงราย อยู่ ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ทำให้ปลาช่อนยักษ์ สามารถกินปลาในตระกูล Catfish ซึ่งเป็นปลาที่มีเกราะหุ้ม อันแข็งของปลาในกลุ่มนี้

3. อะโรวาน่าจากทวีปแอฟริกา (African Arowana)

          อะโรวาน่าที่พบในอัฟริกามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น อาศัยแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจากตอนบนของแม่น้ำไนล์ บริเวณส่วนกว้างอัฟริกาไปจนถึงฝั่งตะวันตก ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้ มีความยาวลำตัวถึง 4 ฟุต ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง(ลึก) ส่วนหัวค่อนข้างหนาและสั้น ด้านบนโค้งเล็กน้อย ลำตัวด้านหลังและด้นข้างมีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ ส่วนบริเวณท้องจะมีสีซีดกว่าด้านข้าง อาจจะมีสีครีมหรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆจะมีสีคล้ายกับสีของลำตัว จงอยปากสั้นกลม ริมฝีปากหนา ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้องอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางมีขนาดเล็ดรูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้าน บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 32-38 เกล็ด

4. อะโรวาน่าจากทวีปออสเตรเลีย (Saratogos)

          ที่พบในทวีปนี้ มีด้วยกัน 2 ชนิด พบที่ออสเตรเลียเหนือ มีชื่อว่า Nothern Saratogas และที่พบที่ ออสเตรเลียตะวันออก ชื่อว่า Spotted Saratogas

           อะโรวาน่าออสเตรเลียเหนือ (Nothern Saratoga)

          พบในทางตอนเหนือ ของประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะนิวกีนี ในประเทศอินโดนีเชีย ปลาชนิดนี้ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีรูปร่าง ที่คล้าย อะโรวาน่าจากทวีปเอเชียมากที่สุด

          มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 90 เซนติเมตร ลักษณะ ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของอะโรวาน่าออสเตรเลีย จากอะโรวาน่าในแถบทวีปเอเชีย คือ จำนวนแถว ของเกล็ด จะมีมากแถวกว่า โดยที่อะโรวาน่าออสเตรเลีย จะมีเกล็ด 7 แถว ในขณะที่ ของอะโรวาน่าจากเอเชีย มี เพียง 5 แถว ส่งผลให้ขนาดของเกล็ดปลาจะมีขนาดเล็กลง ขอบเกล็ดของปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ จะออกสีส้ม เหลือบเขียว เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์

           อะโรวาน่าออสเตรเลียตะวันออก (Spotted Saratoga)

            มีถิ่นกำเนิดในรัฐ ควีนส์แลนด์ ในลุ่มแม่น้ำ Dawson อะโรวาน่า ชนิดนี้ หรือ ที่เรียกกัน สั้นๆ ว่า อะโรวาน่าออสเตรเลียจุด มีขนาดความยาวสูงถึง 90 ซม. ลักษณะลำตัวยาวเรียว บริเวณสันหลังตรง ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว หรือเหลืองอมเขียว บริเวณส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 35 เกล็ด มีจุดสีส้มอมแดงและสะท้อนแสงบนเกล็ดแต่ละเกล็ดจำนวน 1-2 จุด ครีบหลังและครีบก้นสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทั้งสองเข้มจนเกือบดำ ครีบก้นยาวกว่าครีบหลังเล็กน้อยมีก้านครีบ 31 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบ 20 ก้าน

ใส่ความเห็น